post

ทำไมทำธุรกิจแล้วเจ๊ง ไม่ประสบความสำเร็จ 2020

มีคนจำนวนมากที่ไม่ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจในยุคปัจจุบัน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะในช่วงปี 2020 ทั่วโลกประสบปัญหาจากไวรัสโควิดระบาด นอกจากปัจจัยเรื่องนี้แล้ว เรามาดูกันว่ายังมีสาเหตุใดบ้าง ที่ทำให้ธุรกิจเจ๊งในยุค 2020

การหยุดนิ่งไม่พัฒนาตนเอง

หากคุณเป็นร้านค้าที่ขายสินค้าหมวดอาหาร ของใช้แฟชั่น อุปกรณ์ไอที ผลิตภัณฑ์บำรุงสุขภาพ ฯลฯ แต่คุณยังใช้วิธีการคิดและทำแบบเดิม คือ การมีหน้าร้านแล้วรอให้ลูกค้าเดินเข้าไปเยี่ยมชมสินค้าในร้าน นับว่าเป็นการขายที่เป็นฝ่ายตั้งรับอย่างเดียว จะไม่สามารถอยู่รอดได้ในยุคปัจจุบัน ธุรกิจที่อยู่รอดได้ในยุค 2020 ต้องมีการตลาดแบบเชิงรุก ทำการประชาสัมพันธ์ผ่านทางสื่อโซเชียล เช่น Facebook, Line, Instagram หรือเปิดเว็บไซต์หรือเพจออนไลน์ และต้องมีผู้ดูแลเว็บไซต์เป็นประจำคอยตอบคำถามลูกค้าด้วย จึงจะทำให้มีโอกาสจำหน่ายสินค้าได้มากขึ้น

ลงทุนมากเกินกว่าความจำเป็น

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา คนทั่วไปจะนิยมทำธุรกิจ โดยมีหน้าร้านในทำเลที่ดี ติดถนน ใกล้แหล่งชุมชน ใกล้เส้นทางรถไฟฟ้า ฯลฯ ซึ่งจะมีค่าเช่าพื้นที่สูงตามมาหลายหมื่นบาทต่อเดือน และยังมีค่าเช่าพื้นที่ ค่าภาษี ค่าน้ำค่าไฟ ค่าจ้างลูกจ้าง ฯลฯ นับเป็นต้นทุนที่สูง ซึ่งหากใช้วิธีการเดียวกันกับยุคปัจจุบัน ก็เท่ากับความเสี่ยงที่จะเจ๊งสูงมาก เราแนะนำให้ใส่ใจเปิดหน้าร้านออนไลน์ เช่น เพจใน Facebook ซึ่งไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายใด ๆ และทำระบบ SEO เพื่อมีอำนาจแข่งขันกับแบรนด์สินค้าอื่น จะมีความคุ้มค่าและเห็นผลลัพธ์ที่ดีมากกว่า

ไม่มีจุดขายที่ชัดเจน

การทำธุรกิจใด ๆ ในยุค 2020 คุณจะต้องรู้ว่าสินค้าของตัวเองมีจุดเด่นอะไร เหมาะกับลูกค้ากลุ่มไหน เพื่อทำการตลาดที่ชัดเจนเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่มีกำลังซื้อ เช่น ทำอาหารแนวสตรีทฟู้ดเพื่อเข้าถึงคนรุ่นใหม่ที่ชอบอาหารมีสไตล์และเสิร์ฟร้อน ๆ, ผ้าปักงานฝีมือสไตล์ญี่ปุ่น เพื่อการแต่งบ้านแบบวินเทจหรือคลาสสิก เป็นต้น การวิเคราะห์จุดขายออกมาให้ลูกค้าได้รับรู้อย่างชัดเจน เป็นเรื่องสำคัญที่ควรทำตั้งแต่ต้น เพื่อให้การโฆษณาประชาสัมพันธ์มีทิศทางที่ชัดเจนและตรงกลุ่ม

การขาดโปรโมชั่นดึงดูดใจ

ลูกค้าจะนิยมใช้บริการร้านที่มีโปรโมชั่น โดยเฉพาะร้านใหม่ ๆ ที่ยังไม่มั่นใจในคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร จำหน่ายเสื้อผ้า สินค้านำเข้า ฯลฯ จึงควรจัดโปรโมชั่นราคาพิเศษดึงดูดใจ หรือการันตีคืนเงินรับประกันความพอใจ จะเกิดการสร้างแบรนด์และบอกต่อในวงกว้าง ฐานลูกค้าจะเพิ่มอย่างรวดเร็ว

สาเหตุที่ทำให้ธุรกิจไม่ประสบความสำเร็จมีอยู่หลายส่วน ถ้าคุณไม่ต้องการเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ปิดตัวลงอย่างรวดเร็ว ควรนำหลักการที่เราแนะนำไปศึกษาและพัฒนาแก้ไขจุดอ่อน ก็จะมั่นใจได้มากขึ้นว่าจะทำให้ธุรกิจให้สามารถอยู่รอดและเติบโตได้ตามที่มุ่งหวัง

post

ธุรกิจเกี่ยวกับอาหาร ยังน่าทำอยู่หรือไม่ 2019

ปัจจุบัน เราจะสังเกตได้ว่าสภาวะเศรษฐกิจและการเมืองมีการผันผวนทั่วโลก การทำธุรกิจใด ๆ จึงต้องมีการคิดวิเคราะห์ทางการตลาดอย่างรอบคอบและหมั่นบริหารความเสี่ยงอยู่เสมอ เทคนิคที่ดี คือ การฟังคำแนะนำจากกูรูที่เชี่ยวชาญในด้านของธุรกิจที่สนใจ

ในวงการธุรกิจที่เกี่ยวกับอาหารก็เช่นเดียวกัน มีการวิจัยทางการตลาดที่ศึกษาพบว่ามีการขยายตัวประมาณ 5% ในช่วง 1-2 ปีนี้ ยังถือว่าเป็นธุรกิจที่เติบโตได้ดี เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ทั้งในไทยและทั่วโลก มีแนวโน้มที่จะมีครอบครัวขนาดเล็ก และยังมีไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไป มีความรีบเร่งในการทำงาน ต้องการเวลาสำหรับที่กิจกรรมที่ชอบนอกสถานที่ ไม่นิยมที่จะทำอาหารรับประทานเองในครัวเรือน

การทำธุรกิจที่เกี่ยวกับอาหารในรูปแบบต่าง ๆ จึงตอบโจทย์วิถีชีวิตปัจจุบันได้เป็นอย่างดี ซึ่งกูรูทางการตลาดแนะนำให้ทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับด้านต่อไปนี้

1. การเปิดร้านอาหารแนวกาแฟและอาหารว่าง

เป็นที่นิยมอยู่เสมอ โดยเฉพาะในทำเลที่ดี เป็นย่านชุมชน มีสถานที่ทำงานเอกชน สถานศึกษา ฯลฯ จะทำให้มีลูกค้าแวะเวียนมาอุดหนุนอยู่ตลอด

อย่างไรก็ตามต้องคอยศึกษาเทรนด์การใช้วัตถุดิบที่หลากหลาย ตามไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ ที่นิยมบริโภคตามดาราหรืออินฟลูเอนเซอร์ใน YouTube หรือ Instagram

2. ทำธุรกิจแนวแฟรนไชส์เกี่ยวกับอาหาร Fast Food

อาหารแนวปิ้งย่าง เป็นสินค้าที่ซื้อขายง่ายและมีความเสี่ยงในการขาดทุนน้อย เช่น หมูย่าง ไก่ทอด แฮมเบอร์เกอร์ เนื้อปิ้งบาร์บีคิวแซนวิช ฯลฯ ที่สำคัญ คือ ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่มีความเร่งรีบของผู้คนได้เป็นอย่างดี

จะมีการขายได้ดีมากในวันทำงานปกติ คือ จันทร์ ถึง ศุกร์ ช่วงเวลาเช้า ตีห้าถึงแปดโมงเช้า โดยลูกค้ากลุ่มหลัก คือ พนักงานออฟฟิศและนักเรียนนักศึกษา สามารถที่จะทำในรูปแบบของรถพ่วง รถเข็น หรือสามารถฝากวางจำหน่ายในจุดต่าง ๆ เช่น ใกล้กับบริเวณบีทีเอส หรือเป็นจุดเปลี่ยนเส้นทางการเดินรถก็ได้

3. เป็นอินฟลูเอนเซอร์โฆษณา

ให้ผู้คนสนใจอาหารผ่านสื่อมัลติมีเดีย เช่น Instagram หรือ Facebook มีการรีวิวให้น่าดึงดูด รวมถึงการให้โปรโมชั่นต่าง ๆ แก่ลูกค้าเป็นกรณีพิเศษ

นับว่าเป็นอาชีพที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอาหารในด้านการประชาสัมพันธ์ที่นิยมมากในปัจจุบันนี้ เพราะแบรนด์สินค้าจำพวกอาหารจะมาติดต่อให้ทำคลิปโปรโมทให้ จึงสร้างรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ แม้จะไม่ใช่เป็นผู้ลงทุนทำธุรกิจโดยตรงก็ตาม

จะเห็นได้ว่า ธุรกิจที่เกี่ยวกับอาหาร ยังสามารถที่จะมีช่องทางเติบโตได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม ผู้สนใจลงทุนหรือทำงานด้านนี้ ต้องมีการปรับตัวอย่างรวดเร็ว จึงจะสามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของคนส่วนใหญ่ได้ตลอดเวลา

เป็นอินฟลูเอนเซอร์โฆษณา

post

ข้อเสียจากอาการ บ้างาน มากเกินไป คนวัยทำงานต้องอ่าน

การทำงานอย่างหนักตลอดเวลา หรือที่เรียกว่าการบ้างาน เป็นพฤติกรรมของคนรุ่นใหม่วัยทำงาน ที่มีความเชื่อว่าต้องทำงานอย่างหนัก จึงจะแสดงถึงความตั้งใจในการทำงานและจะประสบความสำเร็จร่ำรวยได้เร็ว ซึ่งส่งผลต่อภาวะสุขภาพและทำให้ขาดสมดุลในการใช้ชีวิตได้

เราจึงรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวข้อเสียของอาการบ้างานมาฝากกัน ดังนี้

1. เสี่ยงการเป็นโรคเครียดและซึมเศร้า

เนื่องจากการมุ่งมั่นที่เป้าหมายหลัก คือ ผลสำเร็จจากงานเพียงอย่างเดียว เมื่อมีความผิดหวังจากผลงานที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย หรือได้รับคำตำหนิจากเจ้านาย จะทำให้เกิดความเครียดจัด หากต่อเนื่องก็จะสะสมกลายเป็นปัญหาโรคซึมเศร้า ที่จะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลงไปอย่างมาก

2. เป็นโรคอ้วนง่าย

ผู้ที่ให้เวลากับการทำงานมากกว่าเรื่องสุขภาพ มักพยายามตัดทอนเวลาส่วนอื่น ๆ ออกไป เช่น เลือกใช้วิธีการรับประทานอาหารที่โต๊ะทำงาน แทนการเดินออกไปซื้อ หรือการต่อเวลาโอทีหลังเวลาปกติจนกลับบ้านเที่ยงคืนหรือตีหนึ่ง เพื่อให้งานสำเร็จ ทำให้ร่างกายมีระบบการเผาผลาญที่เปลี่ยนแปลงไป เกิดปัญหาไขมันสะสมตามอวัยวะต่าง ๆ ที่สังเกตได้ชัด คือ ที่หน้าท้อง ต้นแขน ต้นขา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของโรคอ้วนที่กำลังจะตามมาในที่สุด

3. ความสัมพันธ์กับคนอื่นแย่ลง

ความจดจ่อที่มีเฉพาะเรื่องที่ทำให้งานประสบความสำเร็จ ทำให้ลดอารมณ์ขัน หงุดหงิดง่าย ใจร้อน และมีความตึงเครียดอยู่ตลอดเวลา ทำให้คนรอบข้างไม่กล้าที่จะพูดคุยด้วย และยังขาดโอกาสในการไปปฏิสัมพันธ์กับผู้คนหรือเพื่อนใหม่ ๆ ทำให้มีจำนวนเพื่อนน้อยลง และส่งผลต่อความสัมพันธ์กับคนรอบข้างในระยะยาว ทางที่ดี หากรู้สึกว่าเพื่อนกำลังถอยห่าง ให้รีบปรับอารมณ์ให้เย็นลง ยิ้มให้มากขึ้น และลดชั่วโมงทำงานเสียแต่วันนี้

4. ปัญหาครอบครัว

มักเกิดจากพ่อแม่ที่ต้องให้เวลากับการทำงาน หารายได้เป็นเรื่องหลัก ทำให้ลูกที่อยู่ในช่วงวัยเล็กจนถึงวัยรุ่น ขาดความอบอุ่น ไม่มีคนที่จะพูดคุยให้คำปรึกษา จึงเกิดอาการติดเพื่อน ติดเกม การพนัน ที่ชักนำไปสู่การลองใช้ยาเสพติด แอลกอฮอล์ บุหรี่ ฯลฯ การวางแผนการทำงานแต่ละวันให้รัดกุม ไม่ทำงานเกินเวลาที่กำหนด มอบหมายงานให้ผู้อื่นจัดการบ้าง และร่วมกันดูแลเอาใจใส่บุตรหลานอย่างใกล้ชิด จะทำให้ป้องกันปัญหานี้ได้ดีขึ้น

จะเห็นได้ว่า อาการบ้างาน เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาอย่างมาก ทั้งแก่สุขภาพกายและด้านอารมณ์ของตัวเอง และยังส่งผลต่อความสัมพันธ์กับเพื่อนและคนในครอบครัวได้อีกด้วย หวังว่าบทความนี้จะทำให้ทุกท่านสำรวจตัวเองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดอาการบ้างาน ซึ่งจะทำให้รักษาสมดุลในชีวิตได้ดียิ่งขึ้น

ปัญหาครอบครัว

post

ข้อดีของการทำอาหารไปทานที่ทำงาน

มนุษย์ออฟฟิศอย่างเรา ช่วงเวลา 1 ชั่วโมงในช่วงพักนั้นก็แสนจะเร่งรีบต้องออกไปแย่งชิงพื้นที่ร้านอาหารใกล้ ๆ ยิ่งร้านไหนพอจะมีฝีมือก็เรียกได้ว่าถ้าไปช้าก็ต้องรอคิวยาวกันเลยทีเดียว ไหนจะเมนูอาหารที่จำเจในแต่ละวันที่เราจำเป็นต้องทานโดยมีทางเลือกไม่มากอีกด้วย

ดังนั้นจึงมีพนักงานรุ่นใหม่ที่คิดนอกกรอบโดยการทำอาหารไปทานเองในที่ทำงาน และนั่นก็นำมาซึ่ง 7 ข้อดีของการทำอาหารไปทานที่ทำงาน มีข้อดีอะไรบ้างไปดูกัน

7 ข้อดีของการนำอาหารไปทานที่ทำงาน

มีเวลาในช่วงพักมากขึ้น

แน่นอนว่าเมื่อเราไม่ต้องไปต่อคิวแย่งเวลาการทานกับใคร เราย่อมมีเวลาเหลือมากกว่าคนอื่นอย่างแน่นอน แล้วก็ไม่ต้องออกไปตากแดดข้างนอกให้เสี่ยงต่อการผิวเสียด้วยนะ ดีใช่ไหมล่ะ

ได้ทานอาหารที่มีสารอาหารครบ 5หมู่

แน่นอนว่าเมื่อเราเป็นผู้ที่รังสรรค์เมนูอาหารด้วยตัวเอง เราย่อมต้องเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับตัวเองเสมอ และอาหารก็เช่นกันเราย่อมปรุงอาหารที่มีคุณค่า ถูกต้องตามหลักโภชนาการ และสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่อย่างแน่นอน

ประหยัดเงินในกระเป๋า

ไม่ใช่แค่ค่าอาหารที่เราต้องจ่าย แต่เชื่อไหมว่าช่วงเวลาพักกลางวันนี่แหละที่ทำให้เหล่านักช้อปหมดเงินมากที่สุด เมื่อเราไม่ต้องออกไปข้างนอกเพื่อทานอาหารแล้วเราก็ไม่ต้องออกไปเสี่ยงกับการเสียเงินในกระเป๋ากับการช้อปทำให้ประหยัดเงินในกระเป๋าไปเยอะทีเดียว

เกิดสังคมการแบ่งปัน

เมื่อเราเป็นผู้เริ่มต้นในการทำอาหารมาทานที่ทำงานเชื่อเถอะว่าก็จะมีอีกหลายคนที่ทำตาม และเมื่อมีหลาย ๆ คนก็เกิดการรวมกลุ่มกัน ทานอาหารด้วยกัน เริ่มมีการทำอาหารมาเผื่อเพื่อน เผื่อเจ้านาย ทำให้เกิดเป็นสังคมแห่งการแบ่งปัน ได้อิ่มทั้งท้อง และอิ่มใจด้วยเลยในคราวเดียว7 ข้อดีของการนำอาหารไปทานที่ทำงาน

บริหารสมองด้านความคิดสร้างสรรค์

เมื่อเราต้องทำอาหารทานเอง เราก็จะเริ่มการคิดเมนูต่าง ๆ รูปแบบต่าง ๆ ในแต่ละวัน เพื่อที่จะได้นำมาทานที่ทำงาน พร้อมเพื่อน ๆ ของเรา เกิดการประชันฝีมือ ประชันความสวยงาม ทำให้เราได้ฝึกการใช้สมองซีกขวาในแต่ละวันให้พัฒนามากขึ้นได้อีก

มีรายได้เพิ่มขึ้น

ใครจะคิดว่าแค่การทำอาหารมาทานเองก็ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น อาทิเช่น รับทำข้าวกล่องมาให้เพื่อน ๆ ในออฟฟิศ หรือการใช้เวลาที่เรามีเหลือในการทำอาชีพเสริมอื่น ๆ ในช่วงเวลาพักกลางวันเป็นการเพิ่มรายได้ในกระเป๋าของเราได้อีกด้วย

มีช่วงเวลาที่ดีในครอบครัว

ช่วงเวลาการทำอาหาร ถือเป็นช่วงเวลาที่ดีที่เราจะได้ใช้เวลาในการทำอาหารกับครอบครัว เป็นการสานสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวให้แนบแน่นยิ่งขึ้นอย่างแน่นอน

ไม่น่าเชื่อว่าการทำอาหารไปทานเองที่ทำงาน นอกจากจะมั่นใจในสุขอนามัยและสารอาหารแล้ว เรายังมีประโยชน์อื่น ๆ อีกมากมาย รู้แบบนี้แล้วหันไปทำอาหารไปทานที่ทำงานบ้างก็ดีเหมือนกันนะ