post

ชีพจรเศรษฐกิจโลกปี 2566 ส่งสัญญาณไม่ค่อยสู้ดีนัก ปีนี้มีโอกาสสูงมากที่เศรษฐกิจโลกจะเผชิญกับภาวะถดถอย ประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่อย่างสหรัฐ, ยุโรป และญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดหลักของไทย จะเติบโตน้อยและช้าลง ซึ่งจะกระทบกับไทยด้วย ทำให้ส่งออกได้ไม่มากเท่ากับปีก่อน

เศรษฐกิจโลกยังคงมีความเสี่ยงสูง

ช่วงต้นปี เวิลด์ อีโคโนมิค ฟอรั่ม เผยรายงานวิเคราะห์สถานการณ์ความเสี่ยงโลกในทุกมิติ หลังจากสถานการณ์โรคระบาดคลี่คลายลงในปี 2566 โลกยังต้องเผชิญปัญหาใหม่ที่ทับซ้อนเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นปมขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจของโลก สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน การกีดกันทางการค้า และความซบเซาทางเศรษฐกิจที่กำลังบานปลายไปเรื่อยๆ ทุกภาคส่วนต้องเผชิญผลกระทบกันเป็นลูกโซ่

ในเมื่อช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนมีมากขึ้น ไม่ว่าจะเรื่องไหนก็ยังวางใจไม่ได้ทั้งนั้น เพราะกระทบโดยตรงต่อค่าครองชีพของชาวบ้าน ดูอย่างความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างรัสเซียและยูเครนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกเป็นวงกว้าง ราคาสินค้าในตลาดโลกพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว มาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐอเมริกาและชาติตะวันตกส่งผลกระทบในด้านทรัพยากรธรรมชาติที่รัสเซียเป็นประเทศส่งออกรายสำคัญย่อมกระทบต่อการค้าในตลาดโลกแน่นอน ส่วนสงครามยูเครนกระทบต่อตลาดสินค้าโภคภัณฑ์หลายชนิดเนื่องจากยูเครนเป็นแหล่งผลิตอาหารรายใหญ่นั่นเอง

สิ่งที่คาดไม่ถึงและไม่สามารถควบคุมได้คือวิกฤติค่าครองชีพที่มีแนวโน้มจะรุนแรงที่สุดในอีก 2 ปีข้างหน้า ด้วยผลกระทบจากสงครามและโควิดส่งผลให้ตลาดเงินทั่วโลกผันผวน เกิดภาวะเงินเฟ้อรุนแรง และการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจส่งผลให้เกิดปัญหาหนี้สินในระยะยาว อีกทั้งการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่องยิ่งสร้างแรงกดดันต่อภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงค่อนข้างชัดเจนในปีนี้และเร็วกว่าที่คิดไว้ ซึ่งจะส่งผลกระทบหนักต่อภาคการส่งออกของไทยค่อนข้างมากและคาดว่าการส่งออกมีโอกาสที่จะขยายตัวติดลบด้วย ขณะที่อัตราเงินเฟ้อในปี 2566 คาดว่าจะอยู่ที่ไม่เกิน 3% และมีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปีนี้

ทิศทางเศรษฐกิจโลกในอนาคตอันใกล้

เศรษฐกิจโลกขณะนี้ไม่แน่นอนและยังวางใจไม่ได้ สถานการณ์ในตอนนี้มองกันที่เศรษฐกิจสหรัฐเป็นประเด็นแรกก่อน เพราะดูดีกว่าประเทศอื่นตรงที่ยังสามารถขยายตัวได้ แม้จะได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อที่สูง เศรษฐกิจชะลอตัวแต่โมเมนตัมเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่งจากการบริโภคที่ขยายตัว การจ้างงานที่ขยายตัว และอัตราการว่างงานต่ำ สภาพเศรษฐกิจยังไม่เข้าสู่ภาวะถดถอยในช่วงครึ่งปีแรกนี้ ดังนั้นอย่าเอาเงินไปเล่นแทง ผลบอลสด 888 หวังรวยกู้วิกฤตเลย ควรใช้เงินอย่างชาญฉลาดในช่วงนี้

ประเด็นต่อมาเป็นเรื่องของประเทศจีน เมื่อเร็วๆ นี้ จีนได้ยกเลิกมาตรการคุมเข้มโควิดไปเมื่อปลายปีที่แล้ว และเปิดประเทศอย่างปุบปับฉับไว ส่งผลให้เศรษฐกิจจีนและเศรษฐกิจโลกแข็งแกร่งกว่าเดิม รวมถึงประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียได้ประโยชน์จากธุรกิจการท่องเที่ยวที่กลับมาคึกคักมากขึ้น ผู้บริโภคจีนที่เก็บตัวเงียบมานานเริ่มกลับมาใช้จ่ายอีกครั้ง ส่งผลให้ความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้น รวมไปถึงการเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยกลับมาคึกคักอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เตือนว่า การคลายล็อกดาวน์ประเทศจีนในครั้งนี้จะกระทบทั่วโลก เนื่องจากจีนยังคงมีความเสี่ยงเพราะตัวเลขผู้ติดเชื้อเริ่มพุ่งสูงขึ้นอีก น่าจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจทำให้ประเทศจีนอ่อนแอลง ซึ่งแน่นอนว่าจะฟาดหางไปถึงเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียและเศรษฐกิจโลก ฉุดรั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจให้ซบเซาลงไปตามกันในช่วงท้ายปี

อีกประเด็นสำคัญเป็นเรื่องภาวะเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มลดลงในหลายประเทศแถบเอเชีย แต่เงินเฟ้อยังคงเป็นปัญหาใหญ่ในสหรัฐและประเทศอุตสาหกรรมอื่นๆ โดยตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐช่วงเดือนมกราคมอยู่ที่ร้อยละ 6.4 และภาวะเงินเฟ้ออาจยังอยู่ในระดับสูงต่อไปอีก ขณะที่ตัวเลขเงินเฟ้อในยุโรปยังอยู่ในเกณฑ์สูง เป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขเพราะส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน ส่วนเงินเฟ้อในที่อื่นยังคงอยู่ในระดับสูงกว่าร้อยละ 2 ทางธนาคารกลางอาจต้องปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพื่อฉุดอัตราเงินเฟ้อให้ลดลงมากสุด ช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ ด้วยเหตุนี้อัตราดอกเบี้ยจึงต้องสูงขึ้นอีกและจะไม่ลดลงง่ายๆ

เศรษฐกิจโลกอ่อนแอ แต่ไม่กระทบไทยและอาเซียน

สภาพเศรษฐกิจโลกอ่อนแอลงจากความขัดแย้งระหว่างสหรัฐกับจีน ส่งผลให้เกิดการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายในตลาดการค้ากระทบต้นทุนการผลิตทำให้ต้นทุนปรับเพิ่มสูงมาก เศรษฐกิจส่วนใหญ่ของโลกจะเผชิญกับภาวะถดถอยที่หนักกว่าเดิม ไม่ว่าจะสหรัฐฯ สหภาพยุโรป หรือจีน ต่างกำลังชะลอตัวลงพร้อม ๆ กัน ซึ่งต้องย้ำว่าเป็นภาวะชะลอตัวลง ไม่ถึงกับถดถอย เศรษฐกิจโลกโดยรวมอาจขยายตัวไม่ถึง 3% บางประเทศอาจเจอภาวะเศรษฐกิจถดถอยด้วย แต่สิ่งนี้ไม่เกิดขึ้นในอาเซียนและประเทศไทย

สงครามระหว่างสหรัฐกับจีน และรัสเซียกับยูเครนทำให้เกิดการคว่ำบาตร การซื้อสินค้าเกษตรยากขึ้น หลายประเทศเกิดปัญหาขาดแคลนอาหารจากผลกระทบสงครามในยูเครนและภัยแล้ง ข้อตกลงอนุญาตให้ยูเครนส่งออกธัญพืชและปุ๋ยจะสิ้นสุดในเดือนมีนาคมปีนี้ ซึ่งจะส่งผลดีต่อธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารส่งออกของไทยที่ได้เข้าไปขายแทนที่ ไทยจึงควรเพิ่มผลผลิตเพื่อให้ได้ส่งออกมากยิ่งขึ้น

สำหรับภาพรวมของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ นอกจากจะได้ประโยชน์จากการส่งออกอาหารเพิ่มขึ้น แต่ค่าครองชีพในปัจจุบันแพงขึ้นด้วย ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตประชาชนที่มีกำลังซื้อน้อย แต่มีค่าใช้จ่ายราว 50-70% ของรายได้ อาจทําให้ไม่เพียงพอกับการยังชีพ เมื่อสินค้าราคาแพงและยอดขายลดลงกระทบกับภาคการผลิตและการจ้างงาน มีคนตกงานมากขึ้น ซึ่งเป็นวงจรที่ไม่พึงประสงค์สําหรับระบบเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน